วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คุณภาพชีวิต ?? ยามเมื่อเกษียณ


ผลสำรวจชี้ผู้สูงอายุไทย1ใน3ยากจน อยากทำงานหลังเกษียณ

ผลสำรวจเผยผู้สูงอายุไทย 1 ใน 3 มีฐานะยากจน มีรายได้แค่ 833-1,666 บาท/เดือน ส่วนใหญ่อยากทำงานหลังเกษียน เชื่อว่ายังมีความรู้ความสามารถ

แพทย์ หญิงลัดดา ดำริการเลิศ ผู้จัดการแผนงาน มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) กล่าวว่า ในอนาคตอันใกล้นี้สังคมไทยจะเผชิญกับปัญหาภาวะพึ่งพิงของประชากรสูงอายุที่ มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น แต่ประชากรวัยทำงานกลับมีสัดส่วน

ลดลง โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประมาณการณ์ว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15.3 ในปี 2563 ซึ่งหมายความว่า อัตราส่วนของวัยแรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่เข้าสู่ภาวะพึ่งพิง สูงขึ้นอีก ขณะที่การสำรวจรายได้ของผู้สูงอายุในปี 2550 พบว่า ผู้สูงอายุไทยมีรายได้ต่ำมาก โดยผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำกว่า 833 บาทต่อเดือนมีประมาณ ร้อยละ 16 ต่ำกว่า 1,666 บาทต่อเดือน ร้อยละ 17 หากประเมินอย่างคร่าวๆ ประมาณร้อยละ 30 ของประชากรผู้สูงอายุมีฐานะยากจน ซึ่งแหล่งรายได้สำคัญมาจากบุตร ร้อยละ 52 และมาจากการทำงาน บำนาญและเงินออมของตนเอง ร้อยละ 39

"ผู้สูงอายุไทย 1 ใน 3 มีฐานะยากจน และหากในอีก 10 ปีข้างหน้าประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ก็หมายความว่าประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลต่อ กระทบต่อการจ้างงานและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย"แพทย์หญิงลัด ดา กล่าว

แพทย์หญิงลัดดา กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังไม่ได้เตรียมตัวในการเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังไม่มีการเตรียมพร้อมในด้านการสร้างหลักประกันทางรายได้ เพื่อยามชราภาพ จะเห็นได้จากการที่ ระชาชนที่แม้ทำงานในระบบที่เป็นลูกจ้างภาคเอกชน
และภาครัฐยังมีการออมเพื่อ การเกษียนที่น้อยอย
ู่
ดังนั้นเมื่อเข้าสู่วัยชรา ผู้สูงอายุเหล่านั้นจึงต้องพึ่งพิงบุตรหลานตลอดจน
ความช่วยเหลือจากรัฐ
และหากความช่วยเหลือจากรัฐนั้นต้องมาจากภาษีของประชากรวัยทำงาน ในอนาคตอันใกล้นี้ ภาระแบกรับเหล่านี้จะกลายเป็นภาระที่หนักมากสำหรับประชากรวัยทำงาน

แพทย์หญิงลัดดา กล่าวว่า จากงานวิจัยการสำรวจภาวการณ์ทำงานของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังต้องการทำงานแม้พ้นวัยเกษียณอายุแล้วก็ตาม เพราะคิดว่าตนยังคงมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะทำงานต่อและไม่ต้องการ เป็นภาระแก่บุตรหลาน ทั้งนี้ประมาณการณ์แล้ว มีผู้สูงอายุร้อยละ 30 ที่ต้องการทำงานแต่ว่างงาน และยังพยายามหางานทำอยู่ แต่จากการประมาณการความต้องการจ้างแรงงานผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ถึง 2562 พบว่า ความต้องการจ้างแรงงานผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.5 ต่อปีเท่านั้น

ดังนั้นการส่งเสริมเพื่อเพิ่มโอกาสและการสร้างงานให้กับผู้สูงอายุจึงถือ ว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจะสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุได้พัฒนาศักยภาพต่อไปแล้ว จะช่วยเพิ่มช่วงเวลาการออมสำหรับใช้ในยามชราภาพและลดช่วงเวลาการเป็นภาระต่อ รัฐและประชากรในวัยทำงานได้ โดยสาขาการผลิตที่คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะสามารถรองรับการจ้างแรงงานผู้ สูงอายุได้มากที่สุดคือ ภาคการขายส่ง ขายปลีก การซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ รองลงมาคือ ภาคโรงแรมและภัตตาคาร และ ภาคการผลิต

แพทย์หญิงลัดดา กล่าวว่า แนวทางการวางแผนรับมือกับปัญหาดังกล่าวนี้ รัฐบาลควรต้องมีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจนในการส่งเสริมสนับสนุนการมีงานทำที่ สอดคล้องกับสมรรถนะของผู้สูงอายุ เพื่อสร้างรายได้แก่ผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิศรี เพราะจากการเปรียบเทียบผลการประมาณการกำลังแรงงานผู้สูงอายุ และความต้องการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2552 ถึง 2562 พบว่า กำลังแรงงานผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าความต้องการจ้าง แรงงานผู้สูงอายุ ดังนั้น การจัดการเพื่อขยายโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุ จึงเป็นประเด็นสำคัญและเร่งด่วนในการเตรียมความพร้อม เพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ


โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์