วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอน การทำธุรกิจเครือข่าย









ก่อนที่เราจะทำอะไรซักอย่าง เราต้องศึกษา เรียนรู้ เพื่อที่จะให้เข้าใจ อย่างถ่องแท้ในสิ่งที่เราจะทำนั้นๆ และเพื่อการแก้ไขปัญหา
การพัฒนาต่างๆ ในอนาคต ให้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงค่ะ

ดังนั้นก่อนที่จะทำธุรกิจเครือข่ายเราจึงต้องศึกษาและทำเป็นขั้นตอนคือ
1. ทำการศึกษาข้อมูล ประวัติบริษัท ว่ามั่นคงขนาดไหน
2. ตัวผลิตภัณฑ์ หรือสินค้า (ควรเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เป็นสิ่งจำเป็น)
และสินค้าก็ควรมีคุณภาพดี สมกับราคา เพราะจะทำให้เกิดการซื้อขาย
จริง (สินค้าที่ดี ใครๆก็อยากซื้อ จริงไหม)
3. แผนงาน ซึ่งแสดงรายได้ ควรยุติธรรม และยั่งยืน ควรดูว่ารายได
้มาจากอะไร มาจากการที่หาคนแล้วได้เปอร์เซนต์ (อันนี้เป็นลูกโซ่)
หรือมาจากการซื้อขายสินค้าทั่วๆไป แล้วเอากำไรมาปันส่วนกัน






4. ระบบต่าง ๆ ของทีมงาน ว่ามีแนวทางในการช่วยเหลือ ลูกทีมให้ประสบ
กับความสำเร็จอย่างไร

เมื่อศึกษาให้เข้าใจแล้วก็เริ่มลงมือทำกันต่อเลยค่ะ
การทำงานมี 2 แบบ คือ Online หรือ Offline
................................................................................
ONLINE










1. โพสท์กระทู้ตามเว็บบอร์ดต่าง ๆ โดย เข้า Search Engine
และพิมพ์ “ ตั้งกระทุ้ใหม่ “ หรือ พิมพ์ ”โฆษณาฟรี “ เตรียมข้อความที่จะโพสท์เพื่อให้ดึงดูดคนเข้ามาดู
เพื่อให้ได้รายชื่อ หรือให้คนเข้าเว็บให้มากที่สุด เพื่อเราจะได้โทรตอบข้อซักถามและปิดการขายหรือปิดขึ้นศูนย์ธุรกิจ

2.ส่ง E-mail โดยตรงให้เพื่อนให้คนรู้จักเข้าเยี่ยมชมให้มากที่สุด
ที่สำคัญไม่คิดแทนเค้าหรือไม่ตัดสินใจแทนเค้าว่าเค้าไม่ชอบ ว่าเค้าไม่ทำ
ว่าเค้าไม่สะดวกเรามีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ออกไปอย่างสม่ำเสมอ

3. หรือลงโฆษณาตามเว็บที่มีคนสนใจเข้าและมีคุณภาพ และ
หรือตามงบประมาณที่พอจ่ายได้

4. Chat พูดคุย MSN
...............................................................................................
OFFLINE








1.การพูดคุยโดยตรงแนะนำคนรู้จักของคนรู้จัดบอกต่อ
2.ใบปลิว
3.ซองพลาสติกขนาดเท่าซองบัตรโทรศัพท์ใส่ใบปลิวติดกระดาษกาวด้านหลังไป
ติดตาม ตู้ ATM หรือหลังห้องน้ำ( หญิงไปติดหญิง-ชายไปติดชาย)
4.Pull Tab กระดาษริ้ว ๆ เพื่อให้ผู้สนใจดึงเบอร์และชื่อเราไปได้โดยไม่ต้องจด
5.แบบสอบถาม
6.โฆษณาทางหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
7.ไปรษณียบัตร
.............................................................................................

จากนั้นเมื่อคุณได้รับรายชื่อแล้วควรติดต่อเข้าไปแนะนำตัว
ภายใน 24 ชั่วโมงค่ะ ปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยให้สำเร็จในการตลาดออนไลน์
ต้องโฟกัสและสม่ำเสมอในการทำทุกวัน ต้องติดตามและประเมินผล
อย่างต่อเนื่อง หาเครื่องมือทางอีเมลที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการติดต่อ
กับสมาชิกใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ยิ่งถ้าคุณมีเวลาที่จำกัดต้องเลือกทำงานที่มีประสิทธิภาพที่สุดก่อนค่ะ

ดังนั้นต้องใช้เวลาในการที่จะทำความรู้จักและสร้างความเชื่อมั่น
เมื่อ คุณประสบความสำเร็จหรือรู้อะไรใหม่ ๆ ก็ควรที่ต้องแบ่งปันให้ผู้อื่น โดยเฉพาะดาวน์ไลน์ของคุณ เพราะว่าสุดท้ายสิ่งที่ดีก็จะกลับมาตกที่คุณ และคุณก็จะได้เป็นผู้นำที่ดีด้วยค่ะ
ต้องมีความสุภาพ, สื่อสัตย์, เป็นมิตร และให้ความช่วยเหลือกันเสมอ
อย่าใช้คำเยาะเย้ยหรือดูถูกผู้อื่นออนไลน์ เพราะนั่นเท่ากับเป็นการไม่ให้
เกียรติกัน หาผู้ที่ประสบความสำเร็จหรือเข้ามาศึกษาระบบการตลาด
ออนไลน์มาก่อนเพื่อศึกษา และเรียนรู้จากเขาเหล่านั้นค่ะ เพราะว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จและเป็นผู้นำที่ดีนั้นยินดีที่จะให้คำแนะนำ
หรือแบ่งปันความรู้ให้ แต่เราก็จะต้องเคารพในเวลาและความเป็นส่วนตัว
ของเขาด้วยอย่ายอมแพ้ นั่นเป็นคาถาที่สำคัญในการทำงานเลยทีเดียว
เลยค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่าง ธุรกิจเครือข่ายกับ ระบบแชร์ลูกโซ่

การตลาดแบบเครือข่าย






1.ค่าธรรมเนียมในการเริ่มต้นธุรกิจ ใช้เงินลงทุนต่ำ โดยเป็นค่าสมัครเท่านั้น

2.จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิดที่มีคุณภาพสูง ยอดขายจะมาจากการจำหน่ายสินค้า ได้ซ้ำ และความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ บริษัทจะใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อการวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาคุณภาพสินค้า

3. รับประกันคุณภาพความพอใจในตัวสินค้า โดยการคืนเงินลูกค้าสามารถเปลี่ยนหรือ คืนสินค้าได้เมื่อต้องการภายในระยะเวลาที่เหมาะสม

4. ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ในทุกสาขา ทุกประเทศเพราะบริษัทมีความ รับผิดชอบต่อผู้ขายซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอย่างแท้จริง

5.การจ่ายผลตอบแทนรายได้และตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับการทำงานของผู้ขาย นั่นคือรายได้จะมาจากยอดขายที่ขายสินค้าได้

6.การก่อตั้งธุรกิจขึ้นอยู่กับการขายสินค้าคุณภาพ ซึ่งคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปผู้ขายจะให้ความสนใจ ในการขยายตลาดให้กว้างออกไป

7.มีนักขายอสระที่อาศัยการขายสินค้า เพื่อ สร้างรายได้

8.มีกฎระเบียบที่เข้มงวดในการดำเนิน ธุรกิจ โดยเฉพาะมีข้อห้ามมิให้ผู้ขาย กักตุนสินค้า

9. ผู้ขายจะเน้นในเรื่องการ ขายสินค้า และการให้บริการหลังการขายอย่างต่อเนื่อง

10. ธุรกิจถูกต้องตาม กฎหมาย และเป็นการขายสินค้าอีกรูปแบบหนึ่ง นอกเหนือจากการขาย ตามห้าง หรือร้านค้าปลีก ซึ่งผู้บริโภคและบริษัท ขายตรงก็ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย



ระบบปิระมิดหรือแชร์ลูกโซ่






1.ค่าธรรมเนียมในการสมัครใช้เงินลงทุนสูง ผู้สมัครจะถูกหลอกให้จ่ายค่าฝึกอบรมและซื้อสินค้าเกินความต้องการ ผลกำไรส่วนใหญ่มาจากค่าสมัครเป็นสมาชิก (ค่าหัว)

2. ไม่สนใจที่จะจำหน่ายสินค้าคุณภาพ ส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าคุณภาพต่ำ และได้ผลกำไรตอบแทนสูง รายได้จะมาจากการรับสมัครสมาชิกใหม ซึ่งจะต้องถูกบังคับซื้อสินค้าที่มีราคาสูงเป็นจำนวนมาก

3. ไม่มีนโยบายรับซื้อสินค้ากลับคืน เพราะอาจทำให้ระบบปิระมิดล้มได้

4. ร่ำรวยในเวลาอันรวดเร็ว (Get-Rich-Quick scheme) ผู้เข้าร่วมจำนวนมากที่ก้นปิระมิดจะเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่คนเพียงไม่กี่คนที่อยู่ในระดับจุดยอด ของปิระมิด ซึ่งธุรกิจรูปแบบนี้ไม่ยั่งยืน

5. ตำแหน่งที่ระบบสามารถซื้อได

6. ไม่เน้นการขายสินค้าให้ผู้บริโภค แต่ผลกำไรจะมาจากสมาชิกที่สมัครใหม่ ซึ่งจะต้องซื้อสินค้าตุน เพราะถูกบังคับให้ซื้อตามระบบ สมาชิกใหม่จะต้องแบกรับภาระกับสินค้าที่ตนขายไม่ได้ และเมื่อระบบปิระมิดนี้ล้มพังลง ตนก็จะไม่ได้รับเงินลงทุนกลับคืนมาเลย

7. ฉ้อฉล หลอกลวงให้คนเข้ามาในระบบ

8. ผู้เข้าร่วมจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการสมัครสูง หรือจ่ายค่าสินค้าโดยถูกบังคับให้ซื้อในตอนที่สมัคร

9. เน้นการรับสมัครสมาชิกใหม่ และบังคับให้ซื้อสินค้าเมื่อเริ่มสมัคร แต่จะไม่สนใจการขายสินค้าจริงๆ หรือการให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า

10. เป็นระบบที่ผิดกฎหมายในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และหลายประเทศในเอเชีย

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม

ปัญหาแรงงานซึ่งมีอยู่ในบริษัทไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่สิ่งนี้เกิดขึ้นทุกปี
ขึ้นอยู่กับว่าที่ไหนเท่านั้นเอง คนที่เป็นลูกจ้างจะต้องคอยติดตาม สถานการณ์ของบริษัทที่ตัวเองทำอยู่เรื่อยๆ เพราะไม่แน่ว่าบางครั้ง
วันนี้ทำงานอยู่ดีๆ วันรุ่งขึ้นอาจจะไม่มี่งานทำแล้วก็ได้
ดังนั้นเราควรหาอะไรรองรับสถานการณ์กันตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะอะไรๆ ก็ไม่แน่นอน

กรณีตัวอย่าง

1. กรณีพิพาทแรงงานบริษัทใน อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง มีการเจรจาต่อรองเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงาน
กับฝ่ายจัดการของบร
ิษัท มีการยื่นข้อเรียกร้องกันตั้งแต่ 10 มีนาคม 2553
ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ข้อพิพาทจึงเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย
โดยกระทรวงแรงงาน
มาตรการกดดันเสริมอำนาจต่อรองจึงเกิดขึ้นจาก
ทั้งสองฝ่าย

โดยสหภาพแรงงานจัดการชุมนุมประท้วงบริเวณหน้าโรงงาน และการนำขบวนพนักงานไปประท้วงที่หน้าศาลากลางจังหวัดระยอง ส่วนนายจ้างก็ได้ห้ามมิให้พนักงานที่ชุมนุมประท้วงเข้าอยู่อาศัยในหอพัก ทำให้พนักงานเกือบ 400 คน จากทั้งหมด 700 คน ต้องกินอยู่หลับนอนในเต้นท์ริมถนนหน้าโรงงานมากว่า 1 เดือน และนายจ้างได้มีการนำแรงงานต่างด้าวเข้าทำงานแทน

บริษัทแห่งนี้เป็นของไต้หวัน ทำการผลิต เหล็ก น๊อต สกร และจำหน่ายในและต่างประเทศ มีพนักงานราว 780 คน และพนักงานเหมา ไทยกับเขมร 413 คน

2. บริษัทอุปกรณ์ออกกำลังกาย ที่ ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา ชลบุรี
มีพนักงานราว
480 คน ในวันที่ 23 มิถุนายน 2553 บริษัทฯ ได้ออกประกาศ
เรื่องการหยุดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทุกคน ส่วนค่าจ้างและค่าชดเชยตามกฏหมายที่เหลืออยู่ จะจ่ายให้หลังจากปิดกิจการ
ไปแล้ว
90 วัน แต่ไม่มีกำหนดการจ่ายเงินที่ชัดเจน วันที่ 30 มิถุนายน 2553
ตัวแทนลูกจ้างได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมให้นายจ้าง
จ่ายค่าชดเชยตามกฏหมายเต็มจำนวนในวันที่ปิดกิจการ
ต่อรัฐมนตรีว่า
การกระทรวงแรงงาน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแล

วันที่ 3 กรกฎาคม 2553 ตัวแทนพนักงานได้เข้าไปพบผู้บริหารของ
บริษัทฯ ก็ได้รับ
คำตอบว่า ไม่มีเงินจ่ายให้และไม่ทราบว่าใน
วันที่
9 กรกฎาคม 2553 ซึ่งเป็นวันปิดกิจการจะมีเงินจ่ายค่าจ้างให้หรือไม่
ลูกจ้างกำหนดเดินขบวนไปร้องเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ในวันที่
6-กรกฎาคม 2553 เพื่อ

2.1.ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างที่ค้างพร้อมทั้งวันพักร้อนที่เหลือในวันปิดกิจการที่ 9 กรกฎาคม 2553

2.2. ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายในวันปิดกิจการที่ 9 กรกฎาคม 2553



3. บริษัทโรงงานรับจ้าง ตัดเย็บเสื้อผ้าให้กับยี่ห้อดัง ซึ่งเมื่อก่อนอยู่ในเครือ CP ตั้งอยู่ใน อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา มีพนักงานจำนวนมากที่มีอายุงานมากกว่า 20 ปีเป็นจำนวนมาก จะมีการปิดกิจการ การจะปิดกิจการครั้งนี้

นายจ้างใช้วิธีประกาศให้พนักงานหยุดงาน 2 วัน โดยอ้างว่าจะทำการเช็คสต็อกสินค้า เมื่อพนักงานกลับมาทำงานตามปกติ โรงงานก็ได้แจ้งให้หยุดต่ออีก 3 วัน เมื่อครบกำหนด 3 วันแล้ว พนักงานก็ได้เดินทางไปทำงานตามปกติ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2553 พบป้ายประกาศปิดกิจการที่ประตูหน้าโรงงาน พนักงานจึงได้ติดตามทวงถาม ค่าจ้างค้างจ่ายงวดสุดท้าย 19 วัน ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้าง ซึ่งนายจ้างรับว่าจะจ่ายให้ในวันที่ 15 มิถุนายน 2553 แต่เมื่อถึงวันก็ไม่ได้จ่าย ลุกจ้างจึงรวมตัวกับไปร้องเรียนที่ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีตัวแทนจากกลุ่มสหภาพ CP เข้าร่วมด้วย โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างค้างชำระภายใน 18 มิถุนายน 2553 มิฉะนั้นจะถูกกระทรวงแรงงานดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป