ขึ้นอยู่กับว่าที่ไหนเท่านั้นเอง คนที่เป็นลูกจ้างจะต้องคอยติดตาม สถานการณ์ของบริษัทที่ตัวเองทำอยู่เรื่อยๆ เพราะไม่แน่ว่าบางครั้ง
วันนี้ทำงานอยู่ดีๆ วันรุ่งขึ้นอาจจะไม่มี่งานทำแล้วก็ได้ ดังนั้นเราควรหาอะไรรองรับสถานการณ์กันตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะอะไรๆ ก็ไม่แน่นอน
กรณีตัวอย่าง
1. กรณีพิพาทแรงงานบริษัทใน อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง มีการเจรจาต่อรองเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงาน
กับฝ่ายจัดการของบริษัท มีการยื่นข้อเรียกร้องกันตั้งแต่ 10 มีนาคม 2553
ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ข้อพิพาทจึงเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย
โดยกระทรวงแรงงาน มาตรการกดดันเสริมอำนาจต่อรองจึงเกิดขึ้นจาก
ทั้งสองฝ่าย
โดยสหภาพแรงงานจัดการชุมนุมประท้วงบริเวณหน้าโรงงาน และการนำขบวนพนักงานไปประท้วงที่หน้าศาลากลางจังหวัดระยอง ส่วนนายจ้างก็ได้ห้ามมิให้พนักงานที่ชุมนุมประท้วงเข้าอยู่อาศัยในหอพัก ทำให้พนักงานเกือบ 400 คน จากทั้งหมด 700 คน ต้องกินอยู่หลับนอนในเต้นท์ริมถนนหน้าโรงงานมากว่า 1 เดือน และนายจ้างได้มีการนำแรงงานต่างด้าวเข้าทำงานแทน
บริษัทแห่งนี้เป็นของไต้หวัน ทำการผลิต เหล็ก น๊อต สกรู และจำหน่ายในและต่างประเทศ มีพนักงานราว 780 คน และพนักงานเหมา ไทยกับเขมร 413 คน
2. บริษัทอุปกรณ์ออกกำลังกาย ที่ ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา ชลบุรี
มีพนักงานราว 480 คน ในวันที่ 23 มิถุนายน 2553 บริษัทฯ ได้ออกประกาศ
“เรื่องการหยุดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทุกคน” ส่วนค่าจ้างและค่าชดเชยตามกฏหมายที่เหลืออยู่ จะจ่ายให้หลังจากปิดกิจการ
ไปแล้ว 90 วัน แต่ไม่มีกำหนดการจ่ายเงินที่ชัดเจน วันที่ 30 มิถุนายน 2553
ตัวแทนลูกจ้างได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมให้นายจ้าง
จ่ายค่าชดเชยตามกฏหมายเต็มจำนวนในวันที่ปิดกิจการ
ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแล
วันที่ 3 กรกฎาคม 2553 ตัวแทนพนักงานได้เข้าไปพบผู้บริหารของ
บริษัทฯ ก็ได้รับคำตอบว่า “ไม่มีเงินจ่ายให้และไม่ทราบว่าใน
วันที่ 9 กรกฎาคม 2553 ซึ่งเป็นวันปิดกิจการจะมีเงินจ่ายค่าจ้างให้หรือไม่”
ลูกจ้างกำหนดเดินขบวนไปร้องเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ในวันที่ 6-กรกฎาคม 2553 เพื่อ
2.1.ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างที่ค้างพร้อมทั้งวันพักร้อนที่เหลือในวันปิดกิจการที่ 9 กรกฎาคม 2553
2.2. ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายในวันปิดกิจการที่ 9 กรกฎาคม 2553
3. บริษัทโรงงานรับจ้าง ตัดเย็บเสื้อผ้าให้กับยี่ห้อดัง ซึ่งเมื่อก่อนอยู่ในเครือ CP ตั้งอยู่ใน อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา มีพนักงานจำนวนมากที่มีอายุงานมากกว่า 20 ปีเป็นจำนวนมาก จะมีการปิดกิจการ การจะปิดกิจการครั้งนี้
นายจ้างใช้วิธีประกาศให้พนักงานหยุดงาน 2 วัน โดยอ้างว่าจะทำการเช็คสต็อกสินค้า เมื่อพนักงานกลับมาทำงานตามปกติ โรงงานก็ได้แจ้งให้หยุดต่ออีก 3 วัน เมื่อครบกำหนด 3 วันแล้ว พนักงานก็ได้เดินทางไปทำงานตามปกติ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2553 พบป้ายประกาศปิดกิจการที่ประตูหน้าโรงงาน พนักงานจึงได้ติดตามทวงถาม ค่าจ้างค้างจ่ายงวดสุดท้าย 19 วัน ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้าง ซึ่งนายจ้างรับว่าจะจ่ายให้ในวันที่ 15 มิถุนายน 2553 แต่เมื่อถึงวันก็ไม่ได้จ่าย ลุกจ้างจึงรวมตัวกับไปร้องเรียนที่ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีตัวแทนจากกลุ่มสหภาพ CP เข้าร่วมด้วย โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างค้างชำระภายใน 18 มิถุนายน 2553 มิฉะนั้นจะถูกกระทรวงแรงงานดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป